หนูจาไม : สวัสดีจ้าหนูหน่อย วันนี้คุณแม่ให้เอาขนมบัวลอยมาฝากจ้า
หนูหน่อย : สวัสดีจ้าพี่่พรีม หนูจาไม ขอบคุณมากนะจ๊ะ เข้าบ้านเราก่อนนะ
หนูจาไม : จ้า .....
หนูจาไม : สวัสดีค่ะ คุณแม่ วันนี้คุณแม่หนูให้เอาขนมบัวลอยมาฝากค่ะ ลองรับประทานและติชมด้วยนะคะ คุณแม่ฝากบอกค่ะ หนูจาไมยิ้ม ๆ อ้าว....แล้วคุณพ่อเป็นอะไรคะ ดูไม่ค่อยสบาย ดูอึดอัด ยังไงไม่รู้
คุณแม่หนูหน่อย : อ๋อ....คุณพ่อเค้าท้องผูกนะจ๊ะ
พี่พรีม : เป็นมาหลายวันหรือยังครับ
คุณแม่หนูหน่อย : เป็นมา 1 สัปดาห์แล้วจ๊ะ
พี่่พรีม : อุจจาระแข็ง และถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง ไหมครับ
คุณแม่หนูหน่อย : ว่ายังไง คุณพ่อ ตอบคุณหมอเค้า ซิ
คุณพ่อหนูหน่อย : ใช่ครับ ก็ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมา และอุจจาระแข็งมาก
พี่พรีม : เคยเป็นบ่อย ๆ ไหมครับ
คุณพ่อหนูหน่อย : ไม่นะครับ ผมสงสัยว่าจะเป็นแคลเซียมที่ผมกินหรือเปล่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้แคลเซียมจะลูกสาวเพื่อนซื้อมาฝาก บอกว่ากินบำรุงกระดูก ผมเลยทาน
พี่พรีม : คุณพ่อรับประทานพวกอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ แล้วดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว (ถ้าไม่มีข้อจำกัดเรื่องการดื่มน้ำ เช่น โรคหัวใจหรือไต ) ไหมครับ
คุณพ่อหนูหน่อย : อืม...ปกติผมก็รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ และดื่มน้ำเยอะอยู่นะ
พี่พรีม : หากคุณพ่อสงสัยว่าเกิดจากตัวแคลเซียม ผมว่าคุณพ่อลองรับประทานโดย
1.แบ่งขนาดยาต่อวันเป็นหลาย ๆ มื้อไหมครับ เช่น ปกติกินแคลเซียม 1500 มิลลิกรัมต่อเม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า คุณพ่อลองรับประทาน โดยการหักแบ่งกินครั้งละ ครึ่งเม็ด พร้อมอาหารเช้าและเย็นดูไหมครับ เพราะตำราบางตำรา เค้าบอกว่าการที่แคลเซียมทำให้ท้องผูกเกิดจากการที่แคลเซียม แข่งกับเกลือโซเดียม ในการถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายที่ไต หากมีแคลเซียมมาก ก็จะทำให้การดูดกลับโซเดียมที่ไตน้อยลง ทำให้เกลือโซเดียมและน้ำออกจากร่างกายมากขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องผูก
2.บางทฤษฎีบอกว่าแคลเซียมที่มีรูปแบบเกลือที่ดูดซึมได้ดี จะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้น้อยกว่ารูปแบบที่ดูดซึมได้ไม่ดี เช่น แคลเซียมรูปแบบเกลือฟอสเฟต (calcium phosphate) เกลือซิเตรต (calcium citrate) จะเป็นแคลเซียมรูปแบบที่มีการดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมที่มีรูปแบบเกลือเป็นคาร์บอเนต (calcium carbonate) และการรับประทานแคลเซียมพร้อมอาหาร ช่วยเพ่ิ่มการดูดซึมของแคลเซียม ได้ด้วยครับ
3.เปลี่ยนมาทานแคลเซียมในรูปแบบอาหาร (ซึ่งมีข้อเสีย คือ หากรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่มากพอ อาจไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ซึ่งโรคบางโรคต้องการปริมาณแคลเซียมที่มากพอในการรักษา)
อาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ spinach (ป๊วยเล้ง ผักโขม) mustard green (ผักกาดเขียวหรือผักโสภณ) turnip green งา นมวัว/แพะ yogurt, broccoli,กระเทียม ส้ม กระหล่ำ lettuce ( ผักกาดหอม ) tofu (เต้าหู้) green bean (คล้ายถั่วฝักยาวแต่สั้น)
อาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ spinach (ป๊วยเล้ง ผักโขม) mustard green (ผักกาดเขียวหรือผักโสภณ) turnip green งา นมวัว/แพะ yogurt, broccoli,กระเทียม ส้ม กระหล่ำ lettuce ( ผักกาดหอม ) tofu (เต้าหู้) green bean (คล้ายถั่วฝักยาวแต่สั้น)
คุณพ่อหนูหน่อย : งั้น....เดี๋ยวจะลองทีละวิธี อันไหนได้ผล ผมถึงจะเชืิื่อ
พี่พรีม : ดีครับ ผมก็ไม่อยากให้เชื่อผมทั้งหมด ลองไปทำดูครับผม ได้ผลยังไง รบกวนบอกผมด้วยนะครับ และหากคุณพ่ออยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ link ด้านล่างนะครับ
http://www.constipation-remedies-for-all.com/calcium-and-constipation.html
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=888&gid=1
คุณพ่อหนูหน่อย : ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำ
หนูจาไม : อูย.....หนูจาไม ปวดปัสสาวะจังค่ะ หนูขอเข้าห้องน้ำนะคะ ไม่ไหวละ ฟังเรื่องแคลเซียมจนปวดฉี่เลย สงสัยแคลเซียมในอากาศ ลอยเข้ามาในไตหนูจาไม (ปล. ไม่จริงนะคะ เป็นแค่คำล้อเล่น ไม่มีแคลเซียมที่ไหนในอากาศที่สามารถลอยเข้าไปในไตได้นะคะ ) จนเกลือโซเดียมถูกขับออกพร้อมน้ำ ทำให้ปวดปัสสาวะเลยค่ะ อิ อิ
พี่พรีม : แหม...ความรู้ลอยเข้าสมองเร็วจังนะ จาไม จะไปห้องน้ำก็รีบไปซิ
หนูจาไม : ไปละค่าา......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น