วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ตอนที่ 16_RA ;Rheumatoid arthritis....โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์



หนูจำไม : สวัสดีค่ะ พี่พรีม พี่กำลังจะไปไหนคะ

พี่พรีม : พี่จะไปสอนนักศึกษาน่ะ

หนูจำไม : คราวนี้ สอนเรื่องอะไรอ่ะคะ

พี่พรีม : สอนเรื่อง รูมาตอยด์

หนูจำไม : อ่อ...เรื่องยางมะตอยหรอคะ


หนูจำไม : แล้วยางมะตอยมันเกี่ยวกับคนไข้ยังไงอ่ะค่ะ

พี่พรีม : เอ่อ....จำไม สมองท่าจะมีปัญหา เข้าสำนวนเดิม go where come 3fold in 2 meters 

and 2fold in half meter

หนูจำไม : สำนวนนี้ลึกซึ้งเกินไป ข้าน้อยไม่เข้าใจ รบกวนท่านกุนซือ ช่วยเฉลยสำนวนด้วยค่ะ

พี่พรีม : go แปลว่าอะไร

หนูจำไม : go (โก) แปลว่า ไป

พี่พรีม : where แปลว่า อะไร

หนูจำไม : where (แวร์) แปลว่า ที่ไหน

พี่พรีม : come แปลว่าอะไร

หนูจำไม : come (คัม ) แปลว่า มา

พี่พรีม : three แปลว่าอะไร

หนูจำไม : three (ทรี) แปลว่า 3

พี่พรีม : fold (โฟลด์) แปลว่า เท่า

หนูจำไม : 2 meters (2 เมตเตอร์) คือ 2 เมตร

พี่พรีม : 2 เมตร เท่ากับ 1 วา

หนูจำไม : 2 fold (2 โฟลด์) เท่ากับ 2 เท่า

หนูจำไม : half meter (ฮาล์ฟ เมตเตอร์) คือ ครึ่ง เมตร

พี่พรีม : ครึ่งเมตร เท่ากับ 1 ศอก

หนูจำไม : ขออนุญาต รวมคำนิดนึงนะคะ หนูสับสน พอดีไม่ได้เป็น อัจฉริยะมาเกิด

พี่พรีม : จ้า ๆ

หนูจำไม : go (ไป) where (ไหน) come (มา) 3fold in 2 meters (3 เท่าของ 1 วา) 2 fold  
in half meter (2 เท่าของ1 ศอก)

หนูจำไม : อ๋อ ไปไหนมา2 ศอก 3 วา

พี่พรีม : เอ่อ....พี่แนะนำว่าหนูจำไมกลับไปบ้านไปนอนหลับซักตื่น แล้วค่อยมาบอกพี่ว่า สำนวนนี้.

แปลว่าอะไรดีกว่ามั้ย

หนูจำไม : เอ่อ...พอดีว่า หนูไม่ได้นอนน้อย พอดีรอยหยักหนูน้อย พี่พรีม เฉลย เหอะ

พี่พรีม : ก็สำนวนเดิม ที่หนูจำไม บอกพี่เมื่อตอนที่แล้วไง " ไปไหนมา 3 วา 2 ศอก"

หนูจำไม : 555 หนูฟังได้แล้วค่ะว่าโรค "รูมาตอยด์" พอดีหนูอยากรู้ว่าพี่พรีมจะกระแนะกระแหน หนูว่า

ยังไง

พี่พรีม : 555 ช่างรู้นิสัยพี่จริง อิ อิ

หนูจำไม : เรื่องมัน เป็นยังไงค่ะ เจ้าโรค รูมาตอยด์ พี่พรีมรีวิวให้หนูฟังหน่อยได้ไหมคะ

พี่่พรีม: ได้ซิ เอาสั้น ๆ นะ ฟังให้ทันล่ะ

หนูจำไม : ค่า

พี่พรีม : เรื่องมันก็เป็นยังงี้..........................................

อาการของโรครูมาตอยด์

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อ ข้อบวม กดเจ็บ ข้อผิดรูป นอกจากจะมีความผิดปกติที่ระบบข้อแล้ว ยังมีความ

ผิดปกติที่นอกระบบข้ออีก เช่น หลอดเลือดอักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ  ตาอักเสบ ตาแห้ง ปากแห้ง กระดูกพรุน ตรวจพบ rheumatoid factor ได้ (ในบางราย)

การรักษา :

การรักษาด้วยยา 

ยากลุ่ม NSAIDs เช่น Naproxen (high potency/ long t1/2) ขนาด 500-

1500 มก.ต่อวัน Celecoxib 400 มก.ต่อวัน 


ยากลุ่ม DMARDs เริ่มใช้

ตัวไหนในกลุ่มก่อนก็ได้ ควรเริ่มให้ตั้งแต่วินิจฉัยว่าเป็น RA ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ค่าอักเสบ ESR

จะลดลงกว่าใช้ยาเมื่อเป็นโรคนานมาแล้ว ซึ่งยากลุ่ม DMARDS ได้แก่

1.Antimalaria ประสิทธิภาพทั้ง 2 ตัวยาใกล้เคียงกัน 

1.1 hydroxychloroquin ;HCQ

(Plaquinil) 200 -400 มก./วัน ปรับขนาดยาทีละ 200 มก. ทุก 12 สัปดาห์

1.2 chloroquin 125-250 มก. วันละ 1 ครั้ง ปรับขนาดยาทีละ 125 มก. ทุก 12 สัปดาห์ ซึ่ง

ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ( ADR ) ที่สำคัญคือ จอประสาทตาเสื่อม (maculopathy) ถ้าเป็น

มากจะไม่สามารถหายกลับมาเป็นปกติได้ (non reversible) แต่ chloroquin มีโอกาสทำให้เกิด

maculopathy ได้บ่อยกว่า hydroxychloroquin 

2.Methotrexate (MTX) 5-10 มก./สัปดาห์ ปรับขนาดทีละ 2.5 มก. ทุก 4-12 สัปดาห์ (ขนาดสูงสุด 20-25 มก./สัปดาห์ แต่การใช้ยา

ขนาดสูง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด) ซึ่งยาทำให้เกิดอาการไม่พึง

ประสงค์ ( ADR ) ที่สำคัญคือ ตับอักเสบ กดไขกระดูก เพิ่มโอกาสการติดเชื้อที่สูงขึ้น ทำให้เยื่อบุทาง

เดิน อาหารรวมปากอักเสบ (mucositis)

3.Salazopyrin (sulfasalazine) 1000-2000 มก./วัน ปรับขนาดทีละ 500 มก. ทุก 4-12 

สัปดาห์ ซึ่งทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ( ADR ) คล้ายคลึง MTX แต่เรื่องกดภูมิคุ้มกันน้อย

กว่า MTX มีประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียง salazopyrin แต่ประสิทธิภาพสูงกว่า antimalaria 

ซึ่งหากอาการไม่รุนแรงการเลือกใช้ antimalaria จะปลอดภัยกว่า 

ยากลุ่ม corticosteroid

Prednisolone ใช้ในกรณีใช้ NSAIDs ไม่ได้ เช่น ไตเสื่อม ตับแข็ง หรือใช้ไม่ได้ผล หรือ เป็น

รุนแรง ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ขนาดยา < = 7.5 มก./วัน เมื่ออาการดีขึ้นควรลด

ขนาดยาจนถึงขนาดต่ำสุดหรือจนหยุดยาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากยา 

หลักการปรับลดขนาดยาที่ใช้รักษาโรครูมาตอยด์

หากสามารถคุมอาการของโรคให้โรคสงบ ได้นานอย่างน้อย 6 เดือน พิจารณาลดขนาดยาลงจนเหลือ

ขนาดต่ำสุดที่คุมโรคไม่ให้อาการกำเริบ ระหว่างการใช้ยาควรติดตามด้านความปลอดภัย (safety) 

เช่น -เจาะเลือดตรวจสอบค่า CBC, ตับ ไต อย่างน้อยทุก 1-3 เดือน 

-CXR , จอประสาทตา (ป้องกัน maculopathy) อย่างน้อยทุก 1 ปี 

การรักษาอื่น ๆ

-ไม่ควรนั่งยืนหรืออยู่ในอิริยาบถใด ๆที่ไม่เกิดการเคลื่อนไหวของข้อใดข้อหนึ่งนานๆ เพราะจะทำให้ข้อ

แข็ง ขาดความยืดหยุ่น เกิดข้อยึดได้เร็วขึ้น ควรขยับข้อต่างๆบ่อยๆ แต่ไม่ควรฝืนทำกับข้อที่กำลังมี

อาการบวมและปวดอยู่

-หลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่งผลให้ข้อได้รับความกระทบกระเทือน เช่น ไม่ยก ไม่แบกของหนัก ไม่กระโดด

จากที่สูง พยายามใช้ข้อใหญ่ในการทำงานก่อน ใช้แรงจากข้อขนาดเล็ก เช่น นิ้ว ให้น้อยที่สุด 

-ถ้ามีน้ำหนักตัวเกินควรต้องลดน้ำหนัก จะช่วยลดการรับน้ำหนักของข้อเข่าข้อเท้าได้ 

-แช่น้ำอุ่น หรือการประคบเย็น (Ice pack) ก็สามารถช่วยลดอาการได้ การที่จะเลือก ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำ

แข็งขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละบุคคล

-ออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการว่ายน้ำ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะมีผลต่อข้อน้อย และช่วย

เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยลดอาการปวด

ปล. พี่พรีม บอกว่าจากรูป คำว่า "this is joint deformity" แปลว่า "นี้คือข้อผิดรูป" คือ ภาวะ

หนึ่งซึ่งเกิดจากการเป็นโรครูมาตอยด์ ค่ะ 

เอกสารอ้างอิง : 

1.แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557 จากhttps://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=https://www.slideshare.net/mobile/UtaiSukviwatsirikul/2557-43628532&ved=0ahUKEwirxp6LlIzSAhVFPY8KHdqUBYsQFggwMAI&usg=AFQjCNHIfb1mFLHzIdQh5eV_QNhQAH8cjA&sig2=pTNNVPa5Wz7KyV3dKwl9eg 

2.https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Rheumatoid%2520arthritis.pdf&ved=0ahUKEwirxp6LlIzSAhVFPY8KHdqUBYsQFggdMAA&usg=AFQjCNHs_F5pYI9ZdL1sPoUVHWI7RamJKg&sig2=LRykgEWHMsrPUQuq-ixURw 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น