วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตอนที่ 2_อาหารชะลอวัย




พี่ฮาร์ท :  คุณเห็นหนูจำไมมั้ย ?
พี่หนูนิด : เห็นค่ะ  เราเข้าไปทักทายกันนะคะ
พี่ฮาร์ท : ไปครับ
พี่หนูนิด : หนูจำไม ถืออะไรมาเยอะมากมายขนาดนี้จ๊ะ 

หนูจำไม : สวัสดีค่ะ พี่หนูนิด หนูไปตลาดกับคุณแม่มาค่ะ 

พี่หนูนิด :  หนูจำไมชอบทานอัลมอนด์หรือจ๊ะ 

หนูจำไม : อ๋อ...ที่บ้านรับประทานกันหลายคนค่ะ คุณแม่ชอบทานเห็นคุณแม่ว่าเป็นอาหารชะลอวัยค่ะ

พี่ฮาร์ท :  แล้วน้ำมันมะกอกนี่ เป็น anti-aging (แอนตี้เอจจิ้ง) ด้วยมั้ยหนูจำไม (พี่ฮาร์ท ถามแกมหยอกหนูจำไม)

หนูจำไม :  (หนูจำไมทำหน้างง หันไปทางคุณแม่)

คุณแม่ :  คำว่า anti-aging (แอนตี้เอจจิ้ง) ก็คือ สิ่งที่ช่วยชะลอวัย นั่นแหละจ๊ะลูก 

แล้วคุณแม่ (หรือที่คนรู้จักมักเรียกติดปากว่า "อาจารย์แม่" ) ที่รู้อะไรมา มักจะชอบเล่า ให้คนโน้น คนนี้ฟัง ก็อธิบายเรื่องอาหารชะลอวัยให้พี่ฮาร์ด พี่หนูนิดฟังซะยาวเลย 

หนูจำไมก็พอจับใจฟังได้ว่า 

อาหารชะลอวัย ไม่ใช่ชะลอด้านผิวพรรณ ที่ทำให้ดูสวยเท่านั้น แต่หมายถึง การชะลอไม่ให้เซลล์ภายในร่างกายแก่หรือเสื่อมสภาพ อันไปเหตุให้เกิดโรคเรื้อรังในอนาคตด้วย  แล้วก็เพิ่งจะรู้ว่า อาหารที่หนูจำไมช่วยคุณแม่ถือมาจากตลาดมีสารชะลอวัยเยอะมาก คุณแม่บอกว่ามีเคล็ดลับชะลอดังนี้ค่ะ 
1.ดื่มน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิปกติ (ไม่เย็น ไม่ร้อน) วันละ 10-12 แก้ว โดยเริ่มต้นหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า 2 แก้ว
2.รับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ต่ำ เช่น  ข้าวที่ไม่ขัดสีจำพวกข้าวกล้อง ข้าวโอต และผลไม้ชนิดที่ไม่หวาน เช่น ส้ม แอปเปิ้ล เป็นต้น
3.รับประทานผัก 8-10 ส่วนต่อวัน (ประมาณอย่างน้อย 5 กำมือ)
4.รับประทานถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ วันละประมาณ 1 กำมือ เช่น อัลมอนด์ (almond) เกาลัด (chestnut)
มะคาเดเมีย (macadamia nut) พิสตาชิโอ (pistachio nut) , ฮาเซลนัท (Hazel nut),ถั่วพีแคน (pecan nut)
5.รับประทานไข่วันละ 1 ฟอง ในกรณีของผู้ที่ไม่มีปัญหาระดับไขมันในเลือดสูง โดยไข่ขาวไม่จำกัด
6.เลือกไขมันประเภทกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชา ในการทำอาหาร
7.รับประทานปลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนเนื้อสัตว์อื่นแนะนำให้รับประทานเนื้อไก่ไม่ติดมัน
8.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานและเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัวโดยไม่ทานเกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เนื่องจากเหล็กจากเนื้อแดงจะทำให้เกิดอนูมูลอิสระในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้แก่เร็วและเนื้อแดงจะมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อ Arachidonic acid (อะราชิโดนิค แอซิด) สูง จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และมีหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภคเนื้อแดงอาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานและมะเร็ง

หนูจำไม : โอ๊ย...ปวดหัวข้อมูลเยอะมาก สมองจะแตก หนูจำไม ขอนอนก่อนนะคะ เด๊ว..พรุ่งนี้ไปโรงเรียนสาย บ๊าย บาย

ปล. คุณแม่บอกว่า ผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก 
1.หนังสือโภชนาการชะลอวัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2559.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น