วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตอนที่ 3_น้ำด่างมีประโยชน์จริงหรือ ?


หนูจำไม : เค้าทำอะไรกันคะ ทำไมคนเยอะแยะเต็มไปหมด
พี่หมอ (เพื่อนบ้านหนูจำไม) : เดี๋ยวพี่ไปดูให้นะ 
พี่หมอ (เพื่อนบ้านหนูจำไม) : อ๋อ....เค้าไปซื้อน้ำด่างกันน่ะ 
หนูจำไม : น้ำด่าง ! น้ำด่างเป็นยังไงหรือคะ (หนูน้อยเจ้าปัญหาถามด้วยความสงสัย)



พี่หมอ : น้ำที่ดื่มเข้าในร่างกายทำให้เพิ่มความเป็นด่างให้ร่างกาย ไงจ๊ะ

พี่หมอ : แล้วหนูจำไมจะถามต่อใช่มั้ยว่า น้ำด่างมันดียังไง (พี่หมอพูดดักคอ)

หนูจำไม : แหะ ๆ ใช่ค่ะ 

พี่หมอ : โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีภาวะความเป็นกรด-ด่าง อยู่ที่ประมาณ 7.3-7.4 คือ เป็นด่างอ่อน ๆ อยู่แล้ว แต่ถ้าเรารับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดความเป็นกรดมากขึ้น ก็จะทำให้ร่างกายมีความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งความเป็นกรดที่มากขึ้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง กระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด การดื่มน้ำด่างก็จะช่วยลดภาวะความเป็นกรดในร่างกายได้ 

หนูจำไม : หนูซื้อไปฝากคุณแม่ดีไหมคะ ?

พี่หมอ : ก็แล้วแต่หนูจำไมนะครับ แต่ว่าถ้าไม่อยากสิ้นเปลืองเงินในการซื้อดื่ม พี่ว่าหากเราเลี่ยงการรับประทานอาหารสร้างกรด หรือรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ร่วมกับออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด พักผ่อนเพียงพอ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ก็ช่วยเสริมภาวะความเป็นด่างให้กับร่างกายได้เหมือนกันนะ 

หนูจำไม : แล้วอาหารอะไรบ้างคะ ที่ทำให้ร่างกายเป็นกรด 

พี่หมอ : ก็จำพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะข้าวขาว ขนมปังขาว อาหารหวาน เช่น ขนมหวาน ไอศกรีม เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อวัว เนื้อหมู นมวัว อาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ เช่น เบเกอรี่ นมข้น ครีมเทียม อาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เครื่องดื่มในกลุ่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผงชูรส ซึ่งอาจพบในบะหรี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง แล้วก็พวกน้ำ OR (อาโอ; Reverse osmosis) ยังไงละครับ

หนูจำไม : แล้วอาหารอะไรที่เพิ่มความเป็นด่างให้ร่างกาย ละคะ

พี่หมอ : ก็จำพวกผักต่าง ๆ โดยเฉพาะแตงกวา ผักกาด ผักปวยเล้ง ผักชี หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ มะนาว ส้ม แอปเปิ้ล แคนตาลูป กีวี่ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต วอเตอร์เครส หอมหัวใหญ่ ขิง ยี่หร่า เป็นต้น โดยรับประทานวันละ 4 ขีดหรือ 5-7 กำมือ  น้ำมะพร้าว

หนูจำไม : แล้วถ้าหนูซื้อน้ำด่างไปแล้ว หนูควรแนะนำให้คุณแม่ทานหลังรับประทานอาหารหรือเปล่าคะ 

พี่หมอ : จริง ๆ แล้ว ไม่ควรดื่มหลังอาหารปริมาณมากเพราะจะทำให้ลดความเป็นกรดในกระเพาะ จะรบกวนระบบการย่อยอาหารได้จ้า อืม....ถ้าคุณแม่ของหนูจำไมถามว่า จะหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมได้ที่ไหน ก็ตรงเอกสารอ้างอิงด้านล่างเลยจ้า 
พี่หมอ : ไปกันเถอะ กลับบ้านกันได้แล้ว เดี๋ยวคุณแม่หนูจำไม จะเป็นห่วง  
หนูจำไม : ค่า.....
เอกสารอ้างอิง : 
1.หนังสือโภชนาการชะลอวัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2559.
2.http://www.telegraph.co.uk/foodanddrink/recipes/9189022/Eat-the-alkaline-way-recipes-for-a-healthier-you.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น