วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตอนที่_7 การรักษานิ่วในท่อไต (ureteric stone,calculi,lithiasis)


หนูจาไม : สวัสดีค่ะ พี่ไทโช ทำไมวันนี้พี่ดูไม่ค่อยสบาย เป็นอะไรหรือเปล่าคะ
พี่ไทโช : พี่สงสัยว่า พี่จะเป็น "ริ-เตี้ย-ซิ "
หนูจาไม : "ริ-เตี้ย-ซิ " คืออะไรอ่ะค่ะ 
พี่ไทโช : 555 พี่อำเล่น เค้าไม่ได้ออกเสียงว่า "ริ- เตี้ย- ซิ" หรอก ออกเสียงยังไงก็ กดฟังเสียงนะเอานะ "ริ-เตี้ย-ซิ "  ที่พี่พูดถึงจริง ๆ แล้วพี่จะสื่อถึงคำว่า lithiasis (กดที่นี่เพื่อฟังเสียงกันค่ะ) ซึ่งแปลว่า "นิ่ว"


หนูจาไม : ทำหน้างง แล้วถามต่อว่า "นิ่ว" มันคืออะไรอ่ะคะ ?
พี่ไทโช : นิ่ว คือ ผลึกหรือก้อนที่เกิดจากการตกตะกอนของสารต่าง ๆ ในปัสสาวะ ซึ่งหากมันตกตะกอนอยู่ที่ท่อไต ก็จะเรียกว่า นิ่วในท่อไต (ureteric stone,calculi,lithiasis) จ้า
หนูจาไม : แล้ว หากเป็นนิ่วแล้ว มันจะมีอาการอะไรเกิดขึ้นกับร่างกายเราหรือคะ 
พี่ไทโช : ปวดท้อง ปวดหลังร้าวไปอวัยวะเพศ ขาหนีบ ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย
หนูจาไม : แล้วรักษาได้มั้ยคะ จะหายมั้ยคะ จะตายมั้ยคะ
พี่ไทโช : อุต๊ะ... หนูจาไม ถามคำถามไปถึงสุไหงโกลก เลยหรือจ๊ะ 
หนูจาไม : คำถามยังไม่ได้ยาวไปถึงเบตง ยะลาที่อยู่ใต้สุดของไทยเลยค่ะ พี่ไทโชทำบ่นไปได้ 555
พี่ไทโช : 555 ครับ ๆ งั้น....พี่ตอบทีละคำถามนะ 
หนูจาไม : รักษาได้ หายได้ ไม่ถึงกับตายหรอกนะ ถ้าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ภาวะแทรกซ้อนที่ว่าเช่น เมื่อเป็นนิ่วทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตัน ปัสสาวะคั่ง ไตอาจติดเชื้อได้ บางครั้งอาจทำให้ไตวายได้ครับ
พี่ไทโช :   จะถามต่อละซิ ว่ารักษายังไง งั้น.....พี่จะอธิบายให้ฟังนะ อย่าพึ่งหลับซะก่อนล่ะ
หนูจาไม : ก๊าฟผม เดี๋ยว หนูจะนอนฟังนะคะ ตามมารยาทที่ดีของกุลสตรี อิ อิ 
พี่ไทไช :   พี่ไทโชยิ้ม " มากไปแล้วเรา นั่งฟังก็พอ"
หนูจาไม : ก๊าฟผม 
พี่ไทโช :  การรักษาก็แตกต่างกันไป หากแยกตามลักษณะสารที่ทำให้เกิดนิ่ว  ดังนี้จ้า 

กรณีเป็น ca oxalate stone (นิ่วจากการตกผลึกของสาร calcium oxalate) แนะนำให้

1.รับประทานโปรตีน < 30 % ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมด
2.รับประทาน Calcium เช่น calcium citrate ในกรณีที่ citrate ในเลือดต่ำ โดยให้ calcium > 850 mg/day พร้อมอาหาร (ไม่ควรให้ก่อนนอน)
3.ใช้ยา Thiazide ลดการหลั่ง Ca มาในปัสสาวะ ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของนิ่ว โดยให้ขนาด 25-50 mg/day
4.งดอาหารที่มี oxalate สูง 
5.รับประทานวิตามินซี < 1g/day
6.จำกัดเกลือโซเดียม < 2 g /day โดยการหลีกเลี่ยงอาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป
7.แนะนำให้รับประทานผลไม้ที่มีซิเตรต (citrate) เช่น น้ำมะนาว ส้ม มะขามสุก 
8.รับประทานอาหารที่มีกากใย( fiber ) เช่น whole grain* ซึ่งก็คือ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี หรือผ่านการขัดสีน้อยมาก จึงยังมีส่วนประกอบสำคัญในธัญพืชอยู่ครบถ้วน เช่น ข้าวบาเล่ย์ (Barley) ข้าวสาลี (Wheat), ข้าวโพด (Corn), ข้าวโอ๊ต(Oats), ข้าวกล้อง(Brown rice) งา(Sesame) และ nut* คือ ผลไม้เปลือกแข็ง มีเมล็ด ได้แก่ อัลมอนด์(almonds), พิสตาชี ฮโอ(pistachios), วอลนัท (walnuts) ฮาเซลนัท (Hazelnut) , เม็ดมะม่วงหิมพานต์(Cashew Nut) เป็นต้น 
9.ทำให้ปัสสาวะมีภาวะเป็นด่าง

กรณีเป็น Calcium phosphate stone (ซึ่งมักพบในหญิงตั้งครรภ์)
1.ควรลดอาหารที่มีฟอสเฟต (phosphate)
2.ทำให้ปัสสาวะมีภาวะกรด

กรณี cystine stone
1.ทำให้ปัสสาวะมีภาวะเป็นด่าง

กรณี Uric acid stone
1.ยา Allopurinol ( 300 mg /day ) เพื่อลดการผลิตยูริค (uric)
2.ลดเหล้า
3.รับประทานโปรตีน < 30 % ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมด
4.ทำให้ปัสสาวะมีภาวะเป็นด่าง
แต่หลักการรักษาโดยรวม ได้แก่
1.ดื่มน้ำ 6-8 แก้วหรืออาจมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ถ้าหากผู้ป่วยรับประทานได้น้อยหรือคลื่นไส้ อาเจียน
2.ควบคุมน้ำหนัก
3.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
4.ยาแก้ปวด เช่น
-Paracetamol 500 mg รับประทาน 2 เม็ด ทุก 4 เวลาปวดหรือไข้ 
-PO/IV narcotic analgesics คือ ยาแก้ปวดที่เสพติดได้ เช่น codeine, morphine sulfate
-NSAIDS คือยาแก้ปวด ลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen 400 mg ทุก 8 ชั่วโมง,meloxicam, celecoxib,diclofenac โดยควรหยุดยา NSAIDs ก่อนทำ extracorporeal shock wave lithotripsy (สลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก) 7 วัน ในบางทฤษฎีให้หลีกเลี่ยงการใช้ NSAIDs เพราะ NSAIDs จะทำให้การไหลเวียนเลือดที่ไตต่ำลง มีผลต่อการกรองสารต่าง ๆ ของไต
5.ยาต้านอาเจียน Antiemetics เช่น metoclopramide ให้ IV หรือ IM 10 mg ทุก 4-6 ชั่วโมงเวลามีอาการ
6.ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เหมือนการรักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลัน เช่น ampicillin , gentamicin, ciprofloxacin ciprofloxacin , levofloxacin ,ofloxacin ใช้เมื่อมีอาการของการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ(urinary tract infection) เช่น pyuria (เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ), bacteriuria(แบคทีเรียในปัสสาวะ), fever(ไข้), leukocytosis (เม็ดเลือดขาวในเลือดสูง)
7.Urinary antispasmodic (ที่ท่อปัสสาวะ) ช่วยให้นิ่วหลุด เช่น
-Calcium channel blockers เช่น Nifedipine XL ซึ่งประสิทธิภาพน้อยกว่า Alpha blockers
-Alpha blockers เช่น tamsulosin ,doxazosin , alfuzosin 
8.Antidiuretics เช่น DDAVP=desmopressin= minirin เพื่อลด intraureteral pressure ลดปวด
9.Corticosteroids คอติโคสเตียรอยด์ เช่น prednisolone เพื่อลดการอักเสบของท่อปัสสาวะ
10.Antispasmodic ลดการหดเกร็งของกล้ามเนือเรียบ เช่น Buscopan รับประทาน 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมงเวลามีอาการปวดท้อง
11.ลดเครียด เช่น การออกกำลังกาย

หมายเหตุ:
สารที่มีการใช้ทางการแพทย์ที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างสำหรับรักษานิ่ว( Alkalinizing agents) ได้แก่
-potassium citrate ซึ่งดีกว่า sodium bicarbonate เช่น m.pot.cit หรือใช้ Uralyt-U ( Potassium sodium hydrogen citrate )
สารอาหารที่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรดสำหรับรักษานิ่ว (Acidify agents) ได้แก่ น้ำ Cranberry

หนูจาไม : โอ้โห เยอะมาก มีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หนูมึนตึ๊บ แล้วเจ้านิ่ว วัยร้ายเนี่ย มันเกิดได้อย่างไรคะ มีสาเหตุที่ทำให้เกิดไหมคะ หรือบังเอิญมันลอยมาจากท้องฟ้า แล้วมาตกและอุดตันที่ท่อไตของพี่ไทโชคะ 
พี่ไทโช : 555 มีซิครับ สาเหตุเกิดจากหลายอย่าง เช่น
1.การรับประทานอาหารที่มีสารต่อไปนี้มาก เช่น ยอดผัก ผักกระเฉด ถั่วรูปไต งาดำ ชา ช็อคโกแลต ข้าวสาลี (wheat) ทำให้เกิดนิ่วประเภท ca oxalate stone หรือรับประทานยอดผัก สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ทำให้เกิดนิ่วประเภท uric stone หรือรับประทานเนื้อสัตว์ ทำให้เกิด Cystine stone 
2.BMI > 25 หรือพูดง่าย ๆ คือ อ้วนมากเกินไป
3.Fasting blood sugar >105 mg/dl หรือน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
4.Serum ca > 10 mg/dl หรือแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป 
5.วิตามินดี และซี เกลือโซเดียม 
6.ยากันชัก phenytoin
7.พันธุกรรม
8.การดื่มน้ำน้อย

หนูจาไม : แล้วอาหารที่มีฟอสเฟตสูง มีอะไรบ้างอะคะ เผื่อหนูเป็นนิ่วประเภท calcium phosphate สูงหนูจะได้หลีกเลี่ยงไม่่รับประทานอ่ะค่ะ พี่ไทโซ ช่วยบอกหน่อยจิคะ 
พี่ไทโช: ฟอส ภาษาอังกฤษ คือ force แปลว่า แรง เฟต ภาษาอังกฤษ คือ fade แปลว่า อ่อนแรง จาง รวมแล้ว forcefade ก็คือ อาหารที่กินแล้วหมดแรง อ่อนแรง นั่นเอง ตัวอย่าง forcefade ก็เช่น เหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไงจ๊ะ 
หนูจาไม : จริงอ่ะ พี่ไทโช
พี่ไทโช : 555 เชื่่อเปล่าล่ะ 
พี่ไทโช : พี่ล้อเล่นน่ะ จริง ๆ แล้ว ฟอสเฟต ภาษาอังกฤษ คือ phosphate ซึ่งเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง อาหารที่มีแร่ธาตุชนิดนี้ได้แก่ นม โยเกิร์ต โกโก้ บีเวอร์ยีสต์ เครื่องใน ไข่ปลา (fish roe) ช็อคโกแลต ชีสต์ เป็นต้น อ่อ.....แม้กระทั่งเบียร์ ก็มีฟอสเฟตสูงด้วยครับ
หนูจาไม : แล้วมียาอะไรที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร ใช้รักษานิ่วบ้างไหมคะ 
พี่ไทโช : มีซิจ๊ะ ที่ได้ยินกันก็ ยา rowatinex ซึ่งมีสารสำคัญที่ได้จากพืชหลายชนิด แต่อย่ารู้เลยว่ามีอะไรบ้าง เอาเป็นว่า ยานี้ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ดังนั้น จะลดปวดที่ไตหรือท่อทางเดินปัสสาวะ และมีผลเล็กน้อยในการรักษาอาการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะที่ไม่รุนแรงด้วย โดยผู้ใหญ่ที่จะรับประทาน ขนาดปกติที่ใช้กัน คือ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ครับ
หนูจาไม : ตอนนี้หนูเป็นนิ่วที่หน้าแล้วค่ะ เพราะว่า หน้านิ่ว คิ้วขมวด แบบเนี่ยอ่ะค่ะ อิ อิ 

พี่ไทโช:   555
หนูจาไม : เดี๋ยว....จาไมไปโรงพยาบาลเป็นเพื่อนพี่ไทโชเอง  รีบไปเถอะค่ะ เดี๋ยว...โรงพยาบาลปิด 
พี่ไทโช :  โรงพยาบาลจะปิดได้ไง โรงพยาบาลต้องรับใช้ชาติ รับใช้ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมงครับ แท๊กซี่มาแล้ว รีบไปกันเถอะ
หมายเหตุ : ไม่ควรซื้อยากินเองนะครับ อ่านเพื่อเป็นความรู้ การรักษานิ่วควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะครับผม

Ref:
http://haamor.com/th/นิ่วในท่อไต/
http://emedicine.medscape.com/article/437096-treatment#d7
http://www.piyavate.com/article/frontend/article_detail/id/174
https://www.doctor.or.th/article/detail/3356
https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://www.rcst.or.th/cpg/15U98.pdf&ved=0ahUKEwickcu1uf_NAhWEtI8KHZh2BKsQFggfMAI&usg=AFQjCNF-yvVDDuwFJmJpaebKVfwIkdlL8Q&sig2=-R70NyIMW_ib2hXhzzb-qg
http://ergoldbook.blogspot.com/2012/07/renal-stone.html?m=1
http://www.bmbmd.research.chula.ac.th/knrenal.htm
https://www.drugs.com/uk/rowatinex-capsules-leaflet.html
http://www.aafp.org/afp/2006/0701/p86.html
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/uro/1610--ureteric-stone.html
http://www.aafp.org/afp/2011/1201/p1234.html
https://www.drugs.com/uk/rowatinex-capsules-leaflet.html
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3313741/
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwj_5Za2kozOAhUHro8KHXLABqsQFggaMAA&url=https%3A%2F%2Fwww.kidney.org%2Fatoz%2Fcontent%2Fphosphorus&usg=AFQjCNGVu8Cep96P-2QF7C50gPdfmtztbQ&sig2=WITNxlSWUkD6-Ctus36jqQ&bvm=bv.127984354,d.c2I

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น