หนูจำไม : สวัสดีค่ะ พี่พรีม คุณแม่ให้เอาพะโล้มาฝากค่ะ
พี่พรีม : ขอบใจจ้า เดี๋ยว พี่ขอเวลาตรวจคนไข้ซักครู่นะ
หนูจำไม : ค่า เดี๋ยว หนูรอข้างนอกนะคะ แล้ว จำไมก็เดินออกจากนอกห้องตรวจ
ผู้ป่วย : มันเป็นอย่างนี้ครับ และแล้วผู้ป่วยก็เปิดเสื้อให้ดู
พี่พรีม : ลักษณะนี้ผมคิดว่าคุณน่าจะเป็นฝีฝักบัว หรือ carbuncle หรือ boil ทั้งหมดหมายถึง ฝีฝักบัวครับ
เพราะลักษณะหัวหนองจะมีลักษณะขาว ออกเหลิือง
พี่พรีม : แล้วคุณมีอาการปวดบริเวณที่เป็น มีไข้ หนาวสั่น เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวบ้างไหมครับ
ผู้ป่วย: มีครับผม
พี่พรีม : ครับ งั้น ผมจะให้การรักษาฝีฝักบัวให้คุณนะครับ มีข้อแนะนำดังนี้ครับ
1.หากมีอาการอีกในครั้งหน้า ห้ามบีบฝีเองนะครับ เพราะจะเป็นการกระจายเชื้อ
2.ควรประคบร้อน เพื่อเป็นการระบายหนองออก ซึ่งหากหนองถูกระบายออก อาการปวดจะลดลงและเป็นการป้องกันการเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ การประคบควรประคบประมาณครั้งละ 10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง
3.เนื่องจากฝีฝักบัวมักเกิดการติดเชื้อ streptococcus , staphylococcus หรือ MRSA ที่รูขุมขน(hair follicle) ทำให้มีเม็ดเลือดขาว neutrophil มาต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย เกิดการอักเสบ เกิดหนอง
คุณเคยแพ้ยาอะไรไหมครับ
ผู้ป่วย : ไม่ครับ
4.ส่วนฝีเม็ดนี้ผมจะผ่าออกให้เพราะมันมีขนาดใหญ่และลึก และคุณกินยากดภูมิคุ้มกันอยู่ตลอดเนื่องจากโรคที่คุณเป็นอยู่ เช่น prednisolone อยู่ ผมจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้ไปรับประทานด้วยนะครับ ซึ่งยาฆ่าเชื้อมีหลายตัวครับ เช่น
dicloxacillin
clindamycin
cephalexin
clarithromycin
cotrimoxazole
doxycycline
erythromycin
แต่ผมจะจ่าย dicloxacillin (250) รับประทานครั้งละ 2 เม็ดวันละ 4 เวลา ก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน รับประทานติดต่อกัน 7 วันนะครับ และยาแก้ปวด ลดอักเสบ brufen (200) 2 เม็ด วันละ 3 เวลาหลังอาหารทันที เช้า กลางวัน เย็น ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดและลดอักเสบบวม แดง ให้คุณรับประทานเฉพาะเวลามีอาการนะครับ
5.ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ (antiseptic) ตรงบริเวณที่เป็นก็ได้ (ถ้ามีนะครับ)
ผู้ป่วย : ผมเคยได้ยินมาว่า หากเราเอาหนองออก ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ แล้วทำไมผมถึงได้ยาปฏิชีวนะละครับ
พี่พรีม : ครับ มีหลายคนสงสัยเหมือนคุณเหมือนกัน จริง ๆ แล้ว มันก็มีข้อยกเว้นครับ เช่น
1. หากแพทย์สงสัยว่าฝีฝักบัวนั้นเป็นการติดเชื้ัอดื้อยาที่เรียกว่า MRSA
2. เนื้อเยื่อรอบ ๆ เกิดการอักเสบบวมแดง แบบที่เรียกว่า cellulitis
3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
4.มีฝีกระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย
ผู้ป่วย : อ๋อ...แสดงว่าที่ผมได้ยาปฏิชีวนะหลังผ่าเอาหนองออกแล้ว เพราะผมรับประทานยา prednisolone ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกัน ถูกต้องไหมครับ
พี่พรีม : ครับผม
ผู้ป่วย : แล้วผมต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างครับ
พี่พรีม : เนื่องจากเชื้อก่อโรคสามารถกระจายจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้ ดังนั้น ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือเอาผ้าเช็ดตัวเช็ดบริเวณที่เป็นฝีแล้วไปเช็ดส่วนอื่นของร่างกาย และควรล้างมือหลังสัมผัสฝีนะครับ
ผู้ป่วย : ผมเคยได้ยินมาว่า มีการใช้ tea tree oil ทาฝีก็ได้ไหมครับ
พี่พรีม : ก็มีบางการศึกษาบอกว่าใช้ได้ครับ โดยให้ใช้ tea tree oil 9-10 หยอด ผสมน้ำอุ่น ทาวันละ 3-4 ครั้ง หรือจะใช้ตามฉลากยาข้างขวด ก็ได้ครับ ซึ่งตัว tea tree oil จะมีคุณสมบัติเป็น antifungal ,antibacteria, antiseptic ครับ
หนูจำไม : พี่พรีมคะ ตรวจเสร็จยังคะ ถ้ายังไม่เสร็จ เดี๋ยว หนูมาเม้าท์ใหม่วันหลังนะคะ
พี่พรีม : เสร็จ แล้วจ้า คนสุดท้ายพอดี
พี่พรีม : เดี๋ยว เชิญคุณรับยาด้านนอกนะครับ
ผู้ป่วย : ครับ สวัสดีครับคุณหมอ
พี่พรีม : (รับไหว้ )
พี่พรีม : หนูจำไม จะเม้าท์อะไร ก็เข้ามาซิ เดี๋ยว ....ลืมนะ ได้ข่าวว่าเราเป็นปลาทอง ความจำสั้นไม่ใช่หรอ อิ อิ
หนูจำไม : แหะ คืออย่างนี้ค่ะ ......................................................................(เม้าท์เป็นตุเป็นตะ)
พี่พรีม : (คิดในใจ) ......ส่วนผม ก็ฟังแบบเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา เพราะดูเหมือนว่า ที่เล่ามาไม่ได้มีสาระอะไรเลย
พี่พรีม : ปล. อ่านแล้วอย่าเชื่อผมมาก แต่ผมจะฝากเอกสารอ้างอิงด้านล่างไว้นะครับ เผื่อท่านใดสนใจอยากอ่าน เชิญได้เลยครับ
เอกสารอ้างอิง:
http://diseaseslist.org/carbuncle-pictures-symptoms-treatment-causes/ https://medlineplus.gov/ency/article/000825.htm http://www.nhs.uk/Conditions/Boils/Pages/Treatment.aspx http://www.avivahealth.com/article.asp?articleid=199 Drug.pharmacy.psu.ac th http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/carbuncles-causes-treatments
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น